ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ?

ปัจจุบันการทำธุรกรรมทางการเงินกับสถาบันการเงินต่างๆ นั้นเราจะพบว่าจะต้องมีการเซ็นชื่อยินยอมให้ ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร เพราะ สถาบันการเงินเหล่านั้นต้องการทราบสถานะทางการเงินที่แท้จริงของคุณในส่วนของรายจ่ายที่เป็นสินเชื่อในระบบ เรียกง่ายๆว่าจะดูว่าคุณเป็นหนี้อะไรอยู่บ้างและเป็นหนี้กับที่ไหน เช่น บัตรเครดิต สินเชื่อเงินสด สินเชื่อผ่อนชำระต่างๆ เพราะหากคุณทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในเรื่องของสินเชื่อนั้น เครดิตบูโร มีความสำคัญที่จะชี้วัดว่าคุณจะกู้ผ่านหรือไม่ เพราะข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโรนั้นคือรายจ่ายที่สถาบันการเงินจะนำมาคำนวนกับรายได้ที่คุณยื่นในเอกสารขอสินเชื่อ

แน่นอนว่า ก่อนที่สถาบันการเงินจะได้ข้อมูลเครดิตบูโรของคุณนั้น คุณต้องเซ็นชื่อยินยอมให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรได้ แต่คุณเคยสงสัยไหมว่าการเซ็นยินยอมให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรนั้น ยินยอมเฉพาะครั้งหรือไม่ หรือ ยินยอมให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรได้ตลอดเวลา และข้อมูลต่างๆของเราจะเป็นความลับหรือไม่ นี่ยังคงเป็นคำถามที่คาดว่ายังคาใจของใครหลายๆคน เพราะ ปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆนั้นจะมีหน่วยงานที่ติดตามทวงหนี้ที่เป็นลักษณะสำนักงานกฎหมายหรือบริษัทที่รับจ้างจัดเก็บข้อมูลต่างๆซึ่งบริษัทเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อมูลของคุณด้วยหากคุณมีการค้างชำระซึ่งก็ยังเป็นที่สงสัยกันว่าง บริษัทเหล่านี้มีสิทธิเซ็นชื่อยินยอมให้ ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร ด้วยหรือไม่และถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ เพราะจากเหตุการณ์ที่เคยเป็นข่าวเกี่ยวกับการติดตามหนี้สินของบริษัทเหล่านี้สร้างความสงสัยและความคลุมเครือในเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลของลูกหนี้ ซึ่งตามหลักแล้วสถาบันการเงินไม่มีสิทธิที่จะเปิดเผยข้อมูลต่างๆของลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะค้างชำระก็ตาม รวมถึงปัจจุบันนี้การสืบค้นข้อมูลต่างๆสามารถทำได้หลายช่องทางทั้งสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต , สืบค้นจากหน่วยงานราชการ ซึ่งบริษัทที่รับติดตามหนี้สินนั้นจะมีกลวิธีค้นหาข้อมูลจากหน่วยงานราชการแบบชนิดที่เราคาดไม่ถึงกันเลยทีเดียว

ncb

เมื่อมีข้อสงสัยว่าตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่ ? ซึ่งหากสันนิษฐานเบื้องต้น นั้นเราทุกคนคงคิดว่าการเซ็นชื่อยินยอมให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร นั้นครั้งต่อครั้งเพราะเราต้องเซ็นชื่อทุกครั้งที่ยื่นเอกสารขอสินเชื่อไม่ว่าที่ไหนก็ตามแม้จะเป็นลูกค้าเก่าก็ตาม แต่เมื่อมีการค้างชำระ และถูกทวงถามจากบริษัททวงหนี้ของสถาบันการเงินข้อมูลต่างๆ กลับถูกเปิดเผยเช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รวมถึง บุคคลอ้างอิงต่างๆซึ่งข้อมูลเหล่านี้ยังพอเข้าใจได้ว่าทราบได้เพราะเราให้ข้อมูลต่างๆไว้ แต่ในบางรายมีการทวงถามหนี้สินจากพนักงานที่ติดต่อมากลับพูดถึงเรื่องเครดิตบูโร ว่ามีที่ไหนบ้าง ปิดบัญชีกับที่ไหนไปแล้วบ้าง ทำให้เป็นที่กังขาว่ารู้ได้อย่างไร แม้ว่าบางคนย้ายสถานที่ทำงานก็ยังติดตามทวงหนี้ได้อีกทั้งๆที่ไม่ได้แจ้งเปลี่ยนสถานที่ทำงานกับทางสถาบันการเงิน แล้ว บริษัททวงหนี้ ทราบได้อย่างไร แบบนี้ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลใช่หรือไม่ แน่นอนว่าหลายๆคนไม่ทราบข้อกฎหมายทางด้านที่เกี่ยวกับข้อมูลก็ได้แต่สงสัยกันไปแต่ทำอะไรไม่ได้

ทั้งๆที่ความจริงนั้นมีกฎหมาย คุ้มครองเรื่องการเปิดเผยข้อมูลโดยมิชอบอยู่ แต่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามี และ คิดว่าการฟ้องร้องเป็นคดีความในเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่เสียเวลาเสียเงินโดยใช่เหตุ จึงเป็นการเปิดช่องให้สถาบันการเงิน หรือ บริษัทติดตามหนี้สินบางแห่งใช้ประโยชน์ในการดูข้อมูลส่วนบุคคลของคุณได้นั่นเอง ทั้งๆที่มีกฎหมายชัดเจนในการขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร ซึ่งหากคุณมีข้อสงสัยในการเซ็นชื่อยินยอมให้ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร ควรสอบถามพนักงานของสถาบันการเงินทันที หรือ คุณขอตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโรด้วยตนเองแล้วนำเอกสารมายื่นให้ทางสถาบันการเงินเพื่อเป็นการป้องกันข้อมูลต่างๆได้อีกทาง ซึ่งกรณีนี้คุณสามารถสอบถามกับสถาบันการเงินว่าคุณสามารถทำได้เองหรือไม่